จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รับทำโครงหลังคาเหล็กหนองแขม 088-5712615

     
สนใจใช้บริการหรือปรึกษา ช่างชัยวัฒน์ โทรและไลน์ กดได้เลยตามภาพข้างล่างนี้ครับ

 

รับเหมาทำหลังคาทุกชนิดในเขตหนองแขม รับทำหลังคา รับทำโครงหลังคา รับทำโครงเหล็ก หลังคาไวนิล หลังคาเมทัลชีท หลังคาดีไลท์ หลังคากระเบื้องคอนคู่
ช่างงานโครงสร้างเหล็กเขตหนองแขม รับเหมาทำโครงหลังคาเหล็ก รับเหมางานเหล็ก ตามแบบต่างๆ
เขตหนองแขมรับเหมาก่อสร้างงานเหล็ก ต่อเติมบ้าน ต่อเติมครัว ต่อเติมหน้าบ้าน ต่อเติมหลังบ้าน ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน ต่อเติมทาวน์เฮ้าส์
รับติดตั้งโครงหลังคาเหล็กเขตหนองแขม รับเหมาทำโครงหลังคา รับงานโครงสร้างเหล็ก รับต่อเติมบ้านโครงสร้างเหล็ก
บริการดูหน้างาน ตีราคาหน้างานก่อนเสนอลูกค้า บริการรวดเร็วเน้นความพึงพอใจลูกค้า เราดำเนินงานโดยช่างด้านหลังคาผู้มีประสบการณ์ ในพื้นที่เขตหนองแขม
ช่างโครงเหล็กเขตหนองแขม , ช่างหลังคาเขตหนองแขม

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว
โดยช่างโครงเหล็ก
เขตหนองแขม
1. ประเด็นด้านกฏหมายในการต่อเติมบ้านใหม่
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ
-การขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตร.ม.
-เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
-เพิ่ม-ลด จำนวน หรือ เปลี่ยนเสา คาร บันได และผนัง
อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
-สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ
-ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิด 9 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับ ที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
จะเห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง


ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง
จากประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย

การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว
เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม

ข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์
แนะนำโดยช่างต่อเติมบ้าน
เขตหนองแขม
1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม
โดยทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้

2. รูปแบบทางด้านโครงสร้างบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านใหม่
หลักการในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ
ข้อมูลจาก : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี
1. ทำให้อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน
2. ทำให้อาคารฉีกขาดจากโครงสร้างที่เชื่อมกัน

หลักการต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธีต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธี
1.โครงสร้างอาคารส่วนต่อเติม
-ต้องแยกจากอาคารเดิม (บ้านของโครงการ) ต้องแยกจากรั้วรอบด้าน โดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารส่วนต่อเติม
2. ลักษณะฐานรากของอาคารส่วนต่อเติมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
-ต่อเติมโดยใช้ Micro Pile ที่มีความยาวเท่ากับความยาวเสาเข็มของอาคารบ้านเดิม
-ต่อเติมโดยใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ความยาวประมาณ 6 เมตร (ยกเว้น เขตกรุงเทพฯ โซนใต้ เช่น ปากน้ำ พระประแดง แนะนำให้ใช้เข็มยาวเท่านั้น)
ต่อเติมบ้านแล้วดูใหม่เวลาขายบ้านก็ได้ราคาจริงหรือเปล่าครับ :)